ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ชะเวิกชะวาก '

    ชะเวิกชะวาก   หมายถึง ว. เปิดกว้างและลึก เช่น สวมเสื้อคอกว้างชะเวิกชะวาก.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ชะแวง

    น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะแวงแฝงฝั่งแนบ. (เห่เรือ).

  • ชะอม

    น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Acacia pennata (L.) Willd. subsp. insuavis (Lace) Nielsen ในวงศ์ Leguminosae มีหนาม กลิ่นแรง ใบเล็กเป็นฝอยยอดและใบอ่อนกินได้.

  • ชะอ้อน

    ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ฉะอ้อน ก็ใช้. ว. กล้องแกล้ง, แน่งน้อย, รูปเล็กบาง, ฉะอ้อน ก็ใช้.

  • ชะเอม

    น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum. ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทํายา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.)เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทํายาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอมขาไก่ (G. uralensis Fish.)เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรสหวานชุ่มคอ ใช้ทํายาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).

  • ชะโอน

    น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Siluridae มีฟันเล็กแต่แหลมคมลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาลครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดํา เป็นพวกปลาเนื้ออ่อนมี ๒ ชนิด คือ ชนิด Ompok bimaculatus ซึ่งมีครีบหลัง ปากเชิดขึ้นเหนือครีบอกมีจุดกลมสีดํา ๑ จุด, เนื้ออ่อน โอน หน้าสั้น สยุมพรหรือ นาง ก็เรียก; และชนิด Kryptopterus apogon ไม่มีครีบ หลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดดําบนลําตัว, เนื้ออ่อน แดง นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก.

  • ชัก ๑

    ก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้าชักออก; นํา เช่น ชักนํ้าเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน; นําเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชัก ค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกําแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.

  • ชักกระบี่สี่ท่า

    น. ท่าละครท่าหนึ่ง.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒